ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านทุ่งป่ากระถิน เริ่มก่อตั้งครั้งแรก ปี พ.ศ. 2485 โดยมี นายสวัสดิ์ ปานสมบัติ เป็นครูใหญ่ และมีครูน้อยอีก 2 คน พื้นที่ก่อตั้งโรงเรียนครั้งแรกเป็นป่ารก ซึ่งเป็นกระถินหนาม ชาวบ้านได้ถากถางและสร้างโรงเรียน โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 และชั้นประถมปีที่ 2 เนื่องจากการคมนาคมในสมัยก่อนไม่สะดวกจึงมีนักเรียนมาเรียนเพียง 15 คน และมาเรียนไม่สม่ำเสมอ และเมื่อโรงเรียนเปิดเรียนได้ 2 ปี ก็ประสบกับภัยธรรมชาติทั้งพายุและไฟไหม้ที่เกิดจากไฟป่าข้างเคียง หลังจากที่โดนไฟไหม้ ครูและชาวบ้านจึงได้ย้ายไปสร้างโรงเรียนที่แห่งใหม่ซึ่งเรียกว่าบริเวณหัวสะพานสูง ( ปัจจุบันเป็นที่ของนายเหรียญและนางสายบัว )
ต่อมาปีพ.ศ. 2487 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนจึงต้องยุบการเรียนการสอนไปเป็นเวลา 15 ปีภายหลังสงครามโลกมีการสร้างที่ทำการนิคมพิชัยขึ้นที่บ้านทุ่งป่ากระถิน คณะกรรมการจึงได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ของที่ทำการนิคมสร้างเป็นบ้านพักเปิดทำการสอนขึ้นอีกครั้ง ในปีพ.ศ. 2502 โดยมี นายสงัด ดิษฐ์รอด เป็นครูสอน แต่เปิดได้เพียงปีเดียวก็ย้ายไปเรียนบนศาลาวัดแห่งใหม่
ต่อมาปีพ.ศ. 2508 ชาวบ้านก็ได้สร้างอาคารถาวรให้เปิดสอนเป็นทางการ โดยมีนายอำนาจ จำนง เป็นครูใหญ่
ปี พ.ศ. 2522 ได้รื้ออาคารเรียนและย้ายมาก่อสร้างเป็นโรงเรียนบ้านทุ่งป่ากระถินในปัจจุบัน โดยมี นายสามวัย ทองแย้ม เป็นครูใหญ่และมีการบริหารงานโดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งมี นายวิน คำสวน เป็นประธานกรรมการสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านทุ่งป่ากระถิน มีพื้นที่ของโรงเรียน เนื้อที่ 17 ไร่ 2งาน 94.8 ตารางวา เป็นที่ราชพัสดุ ใช้ทำการเกษตร ทำนาและเลี้ยงปลา ปลูกพืชผักของนักเรียน ปัจจุบันโรงเรียนบ้านทุ่งป่ากระถิน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 7 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 36 คน ข้าราชการครู 3 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน นักการภารโรง 1 คน โดยมี นางสาวกาญจนา จันทร์ลอย ดำรงตำแหน่ง เป็นครูรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
วิสัยทัศน์โรงเรียน
วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านทุ่งป่ากระถิน พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ เน้นความรู้ คู่ธรรม สาระการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับตนเอง สังคม การเมือง การปกครอง
ปรัชญาของโรงเรียนบ้านทุ่งป่ากระถิน
ปญญ ว ธเนนเสยฺ
“ปัญญานั่นแหล่ะ ประเสริฐกว่าทรัพย์”
พันธกิจ
๑. จัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
๒. จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๓. จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
๔. จัดการเรียนการสอนโดยเน้นใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
๕. ปลูกฝังประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรมอย่างสม่ำเสมอ